Thursday, February 7, 2008

Blog มีประโยชน์กับธุรกิจอย่างไร

ปัจจุบันนี้ บริษัทชั้นนำต่าง ๆ ของโลก ได้หันมาจับตามอง Blog ซึ่งเป็นรูปแบบของการ Marketing แบบใหม่ เนื่องจาก Blogger จะมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับผู้อ่าน Blog สูงมาก เนื่องจากทั้งสองสามารถโต้ตอบกันได้โดยตรง
การที่ใช้ Blog มาเป็นเครื่องมือทางการตลาดนั้น อาจเรียกได้ว่าเป็น Buzz Marketing บางบริษัทอาจเลือกเจ้าของ Blog ให้เป็น presenter ให้กับผลิตภัณฑ์ของตนเอง เช่นเสนอสินค้า ให้เจ้าของ Blog นำไปเขียนวิจารณ์หรือเขียนถึงใน Blog ของตนเป็นต้น
บางบริษัทใช้ Blog เพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสาร หรือ PR ข่าวสารขององค์กร โดยการใช้ Blog เพื่อประกาศข่าวสารนั้น จะดูมีความเป็นกันเองและเข้าถึงลูกค้าได้อย่างเป็นมิตร เพราะเนื่องจากลูกค้าสามารถกาก comment หรือสื่อสารกับเจ้าของ Blog ได้ทันที ทำให้บริษัทเอง จะได้ประโยชน์จากคำแนะนำที่ตรงไปตรงมาของลูกค้าอีกด้วย บริษัทชั้นนำต่างเลือกที่จะใช้ Blog มาเป็นเครื่องมือทางการตลาดกันแล้ว โดยบางแห่งใช้ทั้ง Blog อย่างเป็นทางการของบริษัท แถมยังเปิดให้พนักงานได้เขียน Blog ของตนเองอีกด้วย โดยวิธีการนี้นับเป็นการทำการตลาดโดยการสร้างการรับรู้ตราสินค้า (Brand) โดยทางอ้อมอีกด้วย
นอกเหนือจากองค์กรธุรกิจแล้ว บุคคลที่ทำงานคนเดียวหรือเป็นกลุ่ม สามารถใช้ Blog เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงาน หรือขายสินค้าของตนได้อีกด้วยเช่น ช่างภาพ, ศิลปิน, นักออกแบบ, นักเขียน, นักวาดการ์ตูน, ร้านค้า, ฯลฯ

4 วิธีสร้าง content มัดใจผู้อ่านบล็อก

1. เขียนบทความที่มีอายุการใช้งานนาน ๆ
บทความบางเรื่องมีอายุการใช้งานสั้นมาก เช่นบทความจำพวกข่าวต่าง ๆ เป็นต้น สำหรับการเขียนบทความที่มีอายุการใช้งานได้นาน ๆ นั้น ลองเลือกเรื่องที่กลั่นออกมาจากความคิดของคุณเอง ตัวอย่างเช่น บทความเรื่อง “บล็อกคืออะไร?” เป็นต้น คุณจะเห็นว่าบทความอย่างนี้ ไม่ได้ระบุระยะเวลา สามารถใช้งานได้นานครับ สิ่งนี้เอง จะทำให้บล็อกเกอร์คนอื่น พูดถึงบทความของคุณได้บ่อย ๆ ครับ
2. เขียนบทความขึ้นเองอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
ลักษณะของบทความใน blog ที่นิยมเขียนกันทั่วไปก็คือ การพูดถึงบทความ ที่คนอื่นเขียนไว้แล้ว แล้วมีการนำมา quote ไว้ในเนื้อหาของเรา แล้วก็มีการพูดถึงอีกนิดหน่อย แต่บทความที่จะสร้างให้ blog ของคุณเป็นกล่าวขวักก็คือ บทความที่เขียนด้วยตัวคุณเอง และไม่ซ้ำกับใครที่ไหน หรือที่ภาษาอังกฤษเค้าเรียกว่าเป็นบทความแบบ Original นั่นเอง บทความแบบนี้เขียนไม่ยากหรอกครับ ลองนึกถึงการเขียนด้วยความคิดของคุณเอง หรือมุมมองของคุณเอง ผมมั่นใจว่า มุมมองของแต่ละคนไม่เหมือนกันอยู่แล้ว ลองเขียนดูครับ
3. เขียนข่าวก่อนคนอื่น
หากเราเป็นบล็อกที่รายงานข่าว ก็ลองเขียนข่าวให้เร็วกว่าคนอื่น ผมหมายถึงถ้าเรารายงานข่าวได้เร็วกว่าคนอื่น หรือรายงานเป็นคนแรก นั่นจะทำให้ผู้อ่านคิดถึงเราเป็นคนแรก หากต้องการอ่านข่าว เราควรทำให้เป็นประจำ จะได้เป็นเครื่องหมายการค้าของเราเลยว่า บล็อกนี้มีข่าวที่เร็วที่สุดให้อ่านกัน
4. เจาะลึกเฉพาะทาง
ข้อนี้จะเข้าข่ายเนื้อหาเจาะลึกตรงประเด็นครับ (niche) หากคุณสนใจเรื่องเกม และบล็อกของคุณเขียนแต่เรื่องเกมแล้วล่ะก็ ลองเจาะมันให้ลึกในเนื้อหาเฉพาะด้านเกมเลย เช่นขยายไปถึง ข่าวเกม เฉลยเกม เป็นต้น เจาะให้ลึก เอาให้ละเอียด รับรองว่าคุณจะได้กลุ่มผู้อ่านที่สนใจในสิ่งที่คุณเขียน อาจเป็นกลุ่มคนที่ไม่เยอะ แต่คุณจะได้กลุ่มที่เป็นแฟนพันธุ์แท้

การปรับแต่ง blog ให้คนเข้าถึงข้อมูลง่ายขึ้น

ด้วยความที่บล็อกเป็นเว็บไซต์ชนิดหนึ่ง ที่มีรูปแบบการจัดเรียงลำดับบทความตั้งแต่บทความใหม่ล่าสุด ย้อนไปยังบทความเก่าที่สุด เมื่อเวลาผ่านไป บทความดี ๆ ของคุณ อาจจะถูกเลื่อนไปเก็บไว้ยังหน้าหลัง ๆ ซึ่งผู้อ่านก็ยากที่จะไปค้นหาดู ดังนั้นมาลองดูเทคนิคต่าง ๆ ในการทำให้ผู้อ่าน เข้าถึงข้อมูลดี ๆ หรือข้อมูลที่สำคัญ ๆ ของเรากันได้ดีกว่าครับ
1. จัดหมวดหมู่ Category ให้ชัดเจน
บทความเก่ามักจะไหลย้อนกลับ เอ๊ย! มักจะถูกเก็บไปอยู่ด้านหลัง ๆ แต่หากเราจัดหมวดหมู่ของบทความ ให้อ่านเข้าใจได้ง่าย ผู้อ่านที่สนใจเรื่องนั้น ๆ ก็จะสามารถมุ่งตรงเข้าไปยังกลุ่มบทความนั้นได้ทันที เช่นผมตั้งหมวดเทคนิคการเขียนบล็อก เอาไว้ ผู้อ่านที่เข้ามาเว็บผม บางคนกำลังมองหาบทความต่าง ๆ ที่สอนเทคนิคในการเขียนบล็อก ก็สามารถเข้าไปหาบทความเหล่านั้นได้เลยครับ
2. จัดเอาบทความสำคัญมาแสดงให้เห็นเด่นชัด ตัวอย่างง่าย ๆ ของบล็อก keng.com ก็คือในส่วนบทความแนะนำ โดยใครจะใช้เทคนิคไหนก็ได้ ลองเอามาให้เห็นชัด ๆ จัดเรียงให้สวยงามอ่านง่าย ใช้ฟังค์ชั่น links ของ wordpress นั่นเอง โดยเพิ่ม category ของ link มาอีกหมวดหนึ่ง แล้วทำ link ไปยังบทความต่าง ๆ แทนที่จะ link ไปยังเว็บอื่น พอส่วนหน้าเว็บ ก็ดึงผลของหมวดหมู่ที่ทำไว้ออกมาเป็น บทความแนะนำ ส่วนใครที่ใช้ blogware ยี่ห้ออื่น ๆ ลองประยุกต์เทคนิคนี้ดู สำหรับตัวอย่างในข้อนี้ ลองดู problogger.net
3. ทำ banner หรือ graphic ไฮไลท์บทความ หากใครมีความสามารถทำ banner ได้สวย ๆ ลองออกแบบป้ายแบนเนอร์ หรือ
กราฟฟิคสวยสะดุดตา ใช้ลิงค์ไปยังบทความเด่น ๆ ของเราได้ด้วย
4. ช่อง search น่ะดีมีประโยชน์ ลองขยับช่อง search ให้คนเห็นเด่นชัด เพราะคนเราเดี๋ยวนี้ เอะอะ อะไรก็ search เพราะชินกับความง่ายของช่อง search ไปซะแล้ว ดังนั้นเราจึงไม่ควรมองข้ามมัน เอาขึ้นมาอยู่ในส่วนท่อนบน

ทำไม blog ถึงมีค่าแก่การพูดถึง

1. เขียน blog เหมือนกับเล่นเวบบอร์ด
กฎข้อแรกของการสร้างเว็บไซต์ให้ติดตลาด คือ ต้องทำให้ผู้ชมกลับมาเยี่ยมเว็บของเราอีกให้ได้ และวิธีที่ง่ายและได้ผลที่สุดคือ สร้างชุมชนของผู้ชม (Community) ให้เกิดขึ้นบนเว็บของเรา เพราะเหตุนี้จึงทำให้เว็บที่เน้นการสนทนาผ่านเว็บบอร์ดอย่าง Pantip.com กลายเป็นเว็บไซต์อันดับหนึ่งของเมืองไทยมาหลายปี blog เป็นการแสดงความคิดเห็นของเราให้คนอื่นอ่านวิธีหนึ่ง เพียงแต่เป็นเว็บบอร์ดส่วนตัวที่คนเขียนคือเจ้าของ blog เท่านั้น (ผู้ชมสามารถแสดงความเห็นได้เป็น comment)
2. เขียน blog ไม่ต้องระวังเท่าเว็บบอร์ด
จุดอ่อนของเว็บบอร์ดคือคนเยอะ และเมื่อเกิดความขัดแย้งกัน ก็จะทะเลาะกันใหญ่โต Pantip.com เจอปัญหานี้มากจนต้องตั้งระบบสมาชิกที่เข้มงวด ทำให้ลำบากในการสมัคร blog เข้ามาทดแทนในจุดนี้ได้พอดี เราสามารถเขียนอะไรลงใน blog ของเราก็ได้โดยไม่ต้องกลัวใครว่า ไม่ต้องกลัวข้อมูลมั่ว (เพราะว่าเป็น blog ของเรานี่นา) ทำให้หลายๆ คนเกิดความสบายใจในการเขียน blog มากกว่าเว็บบอร์ดที่มีคนมาคอยเถียงหรือจับผิด
3. blog มีเนื้อหาต่อเนื่อง
คนที่สนใจในเรื่องเดียวกันก็มักจะเข้าเว็บบอร์ดเฉพาะเรื่อง แต่ปัญหาอีกอย่างของ
เว็บบอร์ดคือ กระทู้ตกเร็ว และแต่ละกระทู้ไม่ต่อเนื่องกัน เพราะต่างคนต่างโพส แต่ blog นั้นเป็นของเจ้าของคนเดียว เขียนคนเดียว สามารถควบคุมความต่อเนื่องของเนื้อหาได้สะดวกกว่า ยิ่งเจ้าของ blog นั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่เราสนใจพอดี นี่จะสนุกมากเลยได้อ่านอะไรๆ ที่วงในเค้ารู้กันได้จาก blog นี่ล่ะ
4. มันก็เหมือนแอบอ่านไอดารี่คนอื่น
การแอบอ่านไดอารี่เป็นอะไรที่ไม่ดีแต่สนุกมาก blog นั้นกลับกัน เป็นไดอารี่ที่อยากให้คนอื่นอ่าน ดังนั้นเจ้าของ blog จะประดิษฐ์ ประดอยหาเรื่องที่น่าสนใจมาเขียนให้อ่าน ทำให้เรื่องใน blog นั้นก็น่าสนใจมากขึ้น

ประโยชน์ของblog ในการจัดการองค์กร

ใช้เป็นเครื่องมือสร้างความรู้
เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ความรู้
ใช้เป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนความรู้
การเขียน blog สำหรับบันทึกเล่าเรื่องราว ข่าวสาร ความรู้ และประสบการณ์ต่างๆ ในสิ่งที่ผู้เล่าสนใจ เป็นการถ่ายทอดสิ่งที่ถูกบันทึกไว้ในสมองลงสู่ตัวหนังสือ การเขียนต้อง มีอิสระทางความคิดในรูปแบบที่เป็นตัวของตัวเอง จะช่วยอำนวยให้การดึงเอาความรู้ฝังลึกถูกแสดงออกมาได้โดยไม่ยากนัก
ความเป็นผู้รู้ของตนเอง หรือผู้เล่าบางท่านอาจตระหนักรู้อยู่ว่าตนเองมีความรู้นี้อยู่ แต่ความรู้ไม่เคยได้ถูกเรียบเรียงหาเหตุผลสนับสนุนต่อยอดความถูกต้องของความรู้นี้ ได้โยงความสัมพันธ์ของเรื่องเล่าของตนเองและสร้างความน่าเชื่อถือและ ความถูกต้องของความรู้ฝังลึกให้เกิดขึ้นได้
การเขียน blog อยู่เป็นประจำก็สามารถนำมาสู่การสร้างขุมความรู้ (Knowledge Assets) อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ การเก็บรวบรวมและการแก้ไขหรือเพิ่มเติมความรู้ก็ทำได้โดย สะดวกรวดเร็ว ส่วนระบบ blog ที่เป็นแบบชุมชน เช่น GotoKnow.org จะยิ่งช่วยทำให้ขุมความรู้ถูกร่วมมือกันสร้างขึ้นได้อย่างรวดเร็ว กลายเป็นขุมความรู้ที่เชื่อมโยง (ผู้เขียนมีปัญหากับการใช้งานในเว็บ gotoknow.org จึงไม่ได้ใช้บริการ KM blog ที่นี่ ซึ่งน่าจะเป็นแหล่ง KM blog ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย)
การเขียน blog จะอนุญาตให้ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็นต่อความรู้ที่ผู้เขียนถ่ายทอดลงไปใน blog และผู้เขียนได้เขียนโต้ตอบต่อความคิดเห็นนั้นๆ ไปๆ มาๆ ในลักษณะของการสนทนาเพื่อหาความแตกฉานในตัวความรู้ ถือได้ว่าเป็นการร่วมกันสกัดความรู้ฝังลึกได้อย่างดี

ความแตกต่าง

ในเบื้องต้น Blog จะแตกต่างจากเว็บไซต์แบบ Static ตรงที่ Blog จะมีเรื่องให้น่าติดตาม ไม่ว่าจะเป็นบทความใหม่ ๆ ที่มีให้อ่านมากกว่า มีพื้นที่ให้ผู้อ่านได้โต้ตอบได้ จนกระทั่งมีผู้กล่าวไว้ว่า Blog จะมาแทนที่เว็บไซต์นิ่ง ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนโปรชัวร์ออนไลน์
สำหรับประเด็นที่ทำให้ Blog แตกต่างจากเว็บไซต์ทั่วไป มีดังนี้ครับ
1. มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้เขียนและผู้อ่านได้ หรือที่เราเรียกว่า Interactive นั่นเอง
2. บทความใน Blog จะเขียนในรูปแบบที่เป็นกันเอง และดูเหมือนการสนทนา มากกว่าในเว็บไซต์ เช่น ลองอ่านบทความนี้ดูครับ มันจะเหมือนว่าผมกำลังคุยกับคุณอยู่ ใช่ไหมครับ นี่คือที่เราเรียกว่ามีความเป็นกันเอง และดูเหมือนการสนทนากันอยู่
3. ระบบที่ใช้เขียน Blog นั้นง่าย ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเซียนคอมพิวเตอร์ ก็สามารถเขียน Blog ได้
4. อัพเดทได้บ่อยมาก และยิ่งอัพเดทบ่อย จะยิ่งดีต่อการมาเก็บข้อมูลของ Search Engine นั่นจะทำให้ตำแหน่งผลการค้นหาของเราใน Search Engine นั้นสูงตามไปด้วย
5. Blog เป็นรูปแบบหนึ่งของการทำการตลาดแบบไวรัส (Viral Marketing)

ประวัติblog

บล็อก (Blog) คือ คำว่า “Weblog” ถูกใช้งานเป็นครั้งแรกโดย Jorn Barger ในเดือนธันวาคม ปี 1997 ต่อมามีฝรั่งที่ชอบเรียกสั้นๆ ชื่อนาย Peter Merholz จับมาเรียกย่อเหลือแต่ “Blog” แทนในเดือนเมษายน ปีค.ศ.1999 และจนมาถึงวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ.2003 ทาง
Oxford English Dictionary จึงได้บรรจุคำว่า blog ในพจนานุกรม แสดงว่าได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ บล็อก (Blog) ขึ้นแท่นศัพท์ยอดฮิต อันดับหนึ่ง ซึ่งถูกเสาะแสวงหา ความหมาย ทางพจนานุกรมออนไลน์ มากที่สุด ประจำปี 2004
สำนักข่าวเอพีรายงานว่า เว็บไซต์ ดิกชั่นนารีหรือ พจนานุกรมออนไลน์ “เมอร์เรียม-เว็บสเตอร์” ได้ประกาศรายชื่อ คำศัพท์ซึ่งถูกคลิก เข้าไปค้นหา ความหมายผ่าน ระบบออนไลน์มากที่สุด 10 อันดับแรกประจำปีนี้ ซึ่งอันดับหนึ่งตกเป็นของคำว่า “บล็อก” (blog) ซึ่งเป็นคำย่อของ “เว็บ บล็อก” (web log)
โดยนายอาเธอร์ บิคเนล โฆษกสำนักพิมพ์พจนานุกรมฉบับ เมอร์เรียม-เว็บสเตอร์ กล่าวว่า สำนักพิมพ์ได้เตรียมที่จะนำคำว่า “บล็อก” บรรจุลงในพจนานุกรมฉบับล่าสุดทั้งที่เป็นเล่มและ ฉบับออนไลน์แล้ว
แต่จากความต้องการของผู้ใช้ที่หลั่งไหลเข้ามา ทำให้เมอร์เรียม-เว็บสเตอร์ตัดสินใจบรรจุคำว่า “บล็อก” ลงในเว็บไซต์ในสังกัดบางแห่งไปก่อน โดยให้คำจำกัดความไว้ว่า “เว็บไซต์ที่บรรจุ เรื่องราวเกี่ยวกับบันทึกส่วนตัวประจำวัน ซึ่งสะท้อนถึงมุมมอง ความคิดเห็นของบุคคล โดยอาจรวมลิงค์เชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์อื่นๆ ตามความประสงค์ของเจ้าของเว็บบล็อกเองด้วย” โดยทั่วไป คำศัพท์ที่ถูกบรรจุลงในพจนานุกรมนั้นจะต้องผ่านการใช้งาน อย่างแพร่หลาย มาไม่น้อยกว่า 20 ปี ซึ่งหมายความว่าคำคำนั้นจะต้องถูกนำมาใช้
โดยทั่วไปในระยะเวลาหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันคำศัพท์ ทางเทคโนโลยีรวมไปถึงโรคภัยไข้เจ็บใหม่ๆ อย่างเช่น โรคเอดส์ โรคไข้หวัดซาร์ส ถูกบรรจุลงในพจนานุกรมภายในระยะเวลาอันสั้น
คำว่า “บล็อก” เริ่มใช้เป็นครั้งแรกๆผ่านทางหน้าหนังสือพิมพ์และนิตยสารเมื่อปี 2542 แต่ผู้รวบรวมพจนานุกรมตั้งข้อสังเกตว่าการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และการประชุมใหญ่ของ พรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันเพื่อรับรองชื่อ ผู้สมัครเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนชาวสหรัฐฯ ผู้ติดตามข่าวสารส่วนใหญ่สนใจ และต้องการทราบความหมายที่แท้จริงของคำดังกล่าว โดยเฉพาะเมื่อคำศัพท์เหล่านั้นปรากฏเป็นข่าวพาดหัวตามหน้าหนังสือพิมพ์ทั่วไป
นอกเหนือจากคำว่า “บล็อก” แล้ว คำศัพท์ที่ติดอันดับถูกเข้าไปค้นหาความหมายสูงสุด 10 อันดับแรกประจำปีนี้ได้แก่ “อินคัมเบนท์” (incumbent) ซึ่งหมายถึงผู้อยู่ในตำแหน่ง, “อิเล็กทอรัล” (electoral) หรือคณะผู้เลือกตั้ง
ขณะที่บางคำเป็นคำศัพท์ที่เกี่ยวเนื่องกับสงครามในอิรัก เช่น “สตอร์มส” (stroms) ซึ่งมีความหมายว่ าการโจมตีอย่างรุนแรง, “อิน-เซอร์เจ้นท์” (insurgent) หรือกองกำลังฝ่ายต่อต้านการปกครอง อิรัก, “เฮอร์ริเคน” (hurri- cane) ซึ่งหมาย ถึงผลกระทบอย่างรุนแรง, “เพโลตัน” (peloton) ที่แปลว่ากองทหารขนาดเล็ก และซิคาด้า (cicada) ซึ่งความหมายตามรูปศัพท์ แปลว่าจักจั่น